หลังจากในตอนที่แล้ว เราได้ติดตั้งโปรแกรมพื้นฐานสำหรับเขียน
แอพพลิเคชั่น Android รวมถึงได้ลองสร้าง โทรศัพท์จำลอง หรือที่เรียกว่า "Emulator" ซึ่งจะเอาไว้รันแอพพลิเคชั่นที่เราได้เขียนไว้นั่นเอง โดยในบทนี้ เราจะมาเริ่มลงมือ
เขียน App Android ซึ่งนั่นคือ แอพพลิเคชั่น "Hello World" กันครับ
หมายเหตุ ถ้าใครพลาด บทเรียนที่แล้วสามารถคลิกอ่านได้ที่นี่
รีวิว - [Lesson 1] เริ่มต้นเขียน แอพพลิเคชั่น Android ต้องทำอย่างไรบ้าง ?
เริ่มต้นด้วยการเปิดโปรแกรม Eclipse ขึ้นมาก่อนเลย แล้วคลิกไปที่เมนู File > New > Other...
เลือก "
Android Application Project" และ Next เพื่อไปยังขั้นตอนต่อไป
มาถึงในขั้นตอนนี้ เราจะต้องเลือกข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแอพพลิเคชั่น Android ที่เราจะสร้างขึ้น ให้เราเลือกแบบภาพตัวอย่างด้านบนก็ได้ครับ
- Application Name : ชื่อแอพ ซึ่งจะโชว์บนสมาร์ทโฟน
- Project Name : ชื่อของ Project แอนดรอยด์
- Package Name : ชื่อแพ็คเกจของแอพเรา ที่กำลังจะพัฒนา
- Minimum Required SDK : เวอร์ชั่นต่ำสุดของอุปกรณ์แอนดรอยด์ (API) ที่เราต้องการให้รันได้ เช่น เราต้องการให้แอพเราทำงานบน Android 2.2 (Froyo) ก็เลือก API 8: Android 2.2 (Froyo)
- Target SDK : เวอร์ชั่นของ API ที่ต้องการพัฒนา
- Compile With : เวอร์ชั่นของคอมไพเลอร์ เลือกให้เหมือน Target SDK ก็ได้นะ
- Theme : ธีมของแอพที่แสดงผล ตรงนี้ไม่ส่งผลอะไร เลือกแบบไหน เราก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ภายหลัง
ขั้นตอนนี้ ติ๊กถูกตามภาพด้านบน และคลิก Next
ในหน้านี้เป็นการตั้งค่ารูปไอคอนของแอพเรา ซึ่งตรงนี้สามารถแก้ไขรูปไอคอนได้ภายหลัง ส่วนที่เห็นด้านขวาเป็น mdpi, hdpi, xhdpi และ xxhdpi คือความละเอียดของไอคอน ซึ่งจะมีผล เวลาลงแอพในอุปกรณ์ที่มีความละเอียดของหน้าจอที่แตกต่างกันไปนั่นเองครับ
ให้เราเลือกรูปแบบของ Layout เบื้องต้นที่ต้องการใช้งาน ให้เลือก "
New Blank Activity" และคลิก Next
ตั้งชื่อ Activity และ Layout ที่ต้องการ เริ่มต้นยังไม่ต้องตั้งก็ได้ครับ เอาตาม Default ไปก่อน แล้วคลิก Finish เป็นการเสร็จสิ้นการตั้งค่าข้อมูลพื้นฐานของการ เขียน App Android
- Activity Name : ชื่อของคลาส (Class) หลักที่จะพัฒนาแอพ
- Layout Name : ชื่อ Layout ซึ่งจะเป็นตัวแสดงผลของแอพ
มาดูในส่วนของการใช้งานหลัก จะแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านซ้ายเอาไว้ Browse ไฟล์ที่เกี่ยวข้องในโปรเจคเรา คล้ายๆ กับ Windows Explorer นั่นเอง ส่วนด้านขวาเป็น Workspace เอาไว้เขียนโค้ด, แก้ไข Layout และเปิดไฟล์จากด้านซ้ายครับ
ให้เราเปิดไฟล์ "
activity_main.xml" โดยไปที่ res > Layout > ดับเบิ้ลคลิก "
activity_main.xml" ซึ่งโค้ด .XML เป็นส่วนที่จะแสดงผล หรือพูดง่ายๆ มันเป็นรูปร่างหน้าตาหลักของแอพเรานั่นเอง
หมายเหตุ ในบทเรียนนี้ เราจะยังไม่เข้าไปแก้ไขโค้ด MainActivity.java นะครับ
คลาส "
activity_main.xml" ผมจะอธิบายส่วนที่สำคัญ นอกเหนือจากนี้สามารถหาอ่านได้ที่
Android Reference เลยครับ
- android:layout_width และ android:layout_height เป็นการกำหนด Attribute ขนาดของวัตถุ ที่นิยมใช้มีดังนี้
- match_parent >> อ้างอิงขนาดจาก Layout ด้านบน
- wrap_content >> ขนาดจะเท่าพอดีกับวัตถุ
- fill_parent >> ขนาดจะเต็มหน้าจอ คล้ายกับเปิด Windows เต็มหน้าต่าง
- android:text="@string/hello_world" >> แสดงตัวอักษร String ที่ถูกเก็บไปใน String ที่มีชื่อว่า hello_world
ทีนี้เราจะลองเปลี่ยนข้อมูลเบื้องต้นของแอพเรา ให้เข้าไปที่ res > values > ดับเบิ้ลคลิก "
strings.xml"
ลองเปลี่ยนค่าตามภาพด้านบนดูครับ ซึ่งค่า String เหล่านี้จะถูกเรียกไปใช้ในหน้า Layout นั่นเองครับ
- app_name >> ชื่อแอพของเรา
- menu_settings >> ชื่อเมนูการตั้งค่า
- hello_world >> ข้อความที่เราต้องการจะแสดงในหน้า Layout
กลับมาที่ส่วนของ Layout จะสังเกตที่มุมซ้ายล่างให้คลิก "Graphical Layout" เราจะเห็นได้ว่าชื่อแอพได้เปลี่ยนเป็น "
First App Ja" และข้อความเปลี่ยนจาก "Hello World" เป็น "
I Love Thaiware" .. นอกจากนี้ในหน้า Graphical Layout เราสามารถลาก Widgets รูปแบบต่างๆ มาไว้ในหน้า Layout ได้เลย แต่วิธีนี้ผมไม่แนะนำ เพราะจะทำให้โค้ด .XML มั่ว และจัดยาก ทางที่ดีให้เราเขียนโค้ด .XML ขึ้นมาเองดีกว่าครับ
ลองรัน Emulator โดยคลิกขวาที่โปรเจค HelloWorld > Run As > Android Application จากนั้นก็จะมีป็อปอัพ Emulator ขึ้นมา รอสักพัก (ขึ้นอยู่กับความเร็วของคอมพิวเตอร์) ก็จะรันเข้าแอพเราโดยอัตโนมัติเลยครับ
เมื่อลองเล่น Emulator จะเห็นว่าแอพที่เราเพิ่งคอมไพล์ และรัน ขึ้นมาในหน้า App Drawer แล้วครับ และสามารถลบแอพ หรือเปิดแอพมาเล่นได้ตามใจชอบ เหมือนที่เราทำบนมือถือ Android จริงๆ เลยครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับ
[Lesson 2] สร้าง Project เขียน App Android และรันแอพผ่าน Emulator ถ้ามีส่วนไหนที่ไม่เข้าใจ หรือสงสัยสามารถคอมเม้นท์ถามได้ด้านล่างเลยครับ และในบทต่อไปเตรียมตัวพบกับการ
เขียน App Android ลงทะเบียนเบื้องต้น ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ของ Layout กับโค้ดในโปรแกรมได้มากยิ่งขั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น