วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เริ่มต้นเขียน แอพพลิเคชั่น Android ต้องทำอย่างไรบ้าง [Lesson 1]

andriodtut_1
ปัจจุบันสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์พกพาอื่นๆ เริ่มมีบทบาทกับชีวิตเรามากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่นระบบปฏิบัติการ Android ได้มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และ "แอพพลิเคชั่น" เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่กำลังเติบโต และเป็นที่น่าสนใจมากๆ โดยตอนนี้มีแอพพลิเคชั่นมากมายนับไม่ถ้วนบน Play Store และเชื่อว่านักเรียน นักศึกษา หลายคนหันมาเริ่มอยากเป็นนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นกันบ้างแล้ว วันนี้ไทยแวร์เลยมาสอน วิธีเขียนแอพพลิเคชั่น แอนดรอยด์ (Android) เบื้องต้น .. โดยในบทนี้ ผมจะบอกขั้นตอนในการเตรียมพร้อม เริ่มเขียนแอพ Android กันครับ !
ก่อนอื่นเราต้องดาวน์โหลดโปรแกรมที่จำเป็นต้องติดตั้ง ดังนี้
  1. Java Development Kit (JDK) : โปรแกรม Eclipse จำเป็นต้องมี เพื่อเอาไว้รัน Java 
  2. Eclipse IDE : โปรแกรมหลัก เป็นเครื่องมือที่เราจะเอาไว้เขียนโค้ดนั่นเอง
  3. Android SDK : พวก API หรือ Library ที่จำเป็นต้องใช้เวลาเราเขียน, รัน และดีบัค Android
  4. Android Development Tools (ADT) : เป็น Plugin ใน Eclipse ใช้สำหรับเพิ่มความสามารถในการพัฒนาแอพ, สร้าง User Interface, ดีบัค และส่งออกไฟล์ .APK

ขั้นตอนที่ 1 : ดาวน์โหลด และติดตั้ง Java Development Kit (JDK)
1. เข้าไปดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ Oracle ได้เลยครับ และเลือกดาวน์โหลด "Java Platform (JDK) 7u17"
Android_Lesson1_01
2. หลังจากนั้นให้เลือก "ยอมรับเงื่อนไข" และเลือกดาวน์โหลดให้ตรงกับระบบปฏิบัตืการ ที่คอมพิวเตอร์ใช้อยู่ เช่น ผมดาวน์โหลด Windows x64 เพราะผมใช้ Windows 7 64 bit นั่นเอง
Android_Lesson1_02
3. เมื่อดาวน์โหลดเสร็จก็ติดตั้งปกติ เหมือนติดตั้งโปรแกรมทั่วไปเลยครับ
Android_Lesson1_03

ขั้นตอนที่ 2 : ดาวน์โหลด และติดตั้ง Eclipse IDE
1. ดาวน์โหลด Eclipse IDE ได้โดย คลิกที่นี่ และเลือกดาวน์โหลด "Eclipse Classic" ส่วนจะ 32 bit หรือ 64 bit นั้นก็ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่คุณได้ลงไว้
Android_Lesson1_04
ข้อสังเกต : จะเห็นว่า Eclipse นั้นมีหลากหลายเวอร์ชั่นให้เลือกกัน ซึ่งข้อแตกต่างในแต่ละเวอร์ชั่นนั้น ถ้าเราเป็นโปรแกรมเมอร์บ้านๆ เช่นผม คงไม่รู้สึกว่ามันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพราะฉะนั้นอย่าไปสนใจเลยครับ จากประสบการณ์ของผม แนะนำให้ใช้ Eclipse Classic นะครับ
2. หลังจากที่ดาวน์โหลดเสร็จเรียบร้อย ก็จะได้ไฟล์ .ZIP มา ให้เราแตกไฟล์ออกมาไว้ที่ไหนก็ได้ตามใจคุณ เช่น ผมแตกไฟล์ไว้ที่ D:\Eclipse
Android_Lesson1_05

ขั้นตอนที่ 3 : ดาวน์โหลด และติดตั้ง Android SDK
1. ดาวน์โหลด Android SDK และติดตั้งตามปกติ
Android_Lesson1_06
2. เมื่อติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ ให้เปิด Android SDK Manager (Start > Android SDK Tools > SDK Manager) เราจะพบกับลิสต์ API ยาวเป็นหางว่าว ให้เราเลือกดาวน์โหลดเวอร์ชั่นที่เราต้องการจะพัฒนา ในตัวอย่างนี้ผมเลือกดาวน์โหลด Android 4.2.2 (API 17), Android 4.0.3 (API 15), Android 2.3.3 (API 10), Tools และ Extras .. หลังจากคลิก Install Packages จะมีป็อปอัพเด้งขึ้นมาให้เลือก "Accept All"
Android_Lesson1_07
ข้อสังเกต : เหตุผลที่ผมเลือกดาวน์โหลด API หลายตัว เพราะเวลาเราพัฒนาแอพพลิเคชั่นไปเรื่อยๆ จะเจอ Errors หรือปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นเพราะเราไม่ได้โหลด API นั้นๆ มา เพราะฉะนั้นผมจึงดาวน์โหลด API ที่จำเป็นติดไว้นั่นเองครับ

ขั้นตอนที่ 4 : ติดตั้ง Plugin เสริมใน Eclipse
1. เปิดโปรแกรม Eclipse ขึ้นมาก่อนเลยครับ หลังจากนั้นไปที่ Help > Install New Hardware
Android_Lesson1_08
2. คลิกที่ Add และใส่ "ADT Plugin" ในช่อง Name ส่วนช่อง Location ให้ใส่ "https://dl-ssl.google.com/android/eclipse/"
Android_Lesson1_09
3. หลังจากนั้นเลือก "Developer Tools" แล้วคลิก Next ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะติดตั้งสำเร็จ
Android_Lesson1_10
Android_Lesson1_11
4. เมื่อติดตั้งเสร็จ โปรแกรม Eclipse ก็จะถามขึ้นมาว่าต้องการรีสตาทเครื่องไหม แนะนำให้รีสตาท หลังจากนี้เราจะสังเกตไอคอน Android สองตัวเล็กๆ นั่นคือ "Android SDK Manager" และ "Android Virual Device Manager"
Android_Lesson1_12

ขั้นตอนที่ 5 : ติดตั้ง และตั้งค่า Emulator
1. เลือกไอคอน "Android Virtual Device Manager" และคลิกที่ "New"
Android_Lesson1_13
2. ให้เราตั้งชื่อ AVD และตั้งค่าของ Emulator ที่เราต้องการ หรือว่าจะตั้งตามผมตามรูปด้านล่างก็ได้เหมือนกันครับ
Android_Lesson1_14
3. เสร็จเรียบร้อย คราวนี้เราลองเทส Emulator ที่เราเพิ่งสร้างขึ้นมา โดยเลือก "AVDJellyBean" และคลิก "Start"
Android_Lesson1_15
4. เพียงเท่านี้ เราก็สามารถรัน Emulator โทรศัพท์ Android ได้แล้ว ! ลองเล่นดู แล้วจะรู้ว่าใช้งานได้เหมือนโทรศัพท์จริงๆ เลยครับ
Android_Lesson1_16

จบแล้ว สำหรับบทเรียนแรก "เริ่มต้นเขียน แอพพลิเคชั่น Android ต้องทำอย่างไรบ้าง" ในบทต่อไป ผมจะสอนเขียนแอพพลิเคชั่นด้วย Java แบบง่ายๆ กันครับ รับรองว่า Android นั้นเขียนสนุก และไม่ยากอย่างที่คุณคิดเลย !
ปล. รีวิวนี้เขียนมาจากประสบการณ์ของผมโดยล้วนๆ ถ้าผิดพลาดประการใด แนะนำเข้ามาได้เลยครับ blush

อัพเดต ! บทเรียนที่ 2 มาแล้วนะ - [Lesson 2] สร้าง Project เขียน App Android และรันแอพผ่าน Emulator

เริ่มต้นเขียน แอพพลิเคชั่น Android ต้องทำอย่างไรบ้าง [Lesson 1]


 

 ค้นหารีวิว !

 
ส่งรีวิวเข้าไทยแวร์ดอทคอม (Submit Review to Thaiware.com)
 

 รายละเอียดรีวิว !

รีวิว - [Lesson 2] สร้าง Project เขียน App Android และรันแอพผ่าน Emulator

 รีวิว - [Lesson 2] สร้าง Project เขียน App Android และรันแอพผ่าน Emulator เป็นรีวิว Mobile/Tablet

 วันที่เขียน : 14 มิถุนายน 2556 (June 14, 2013)
 หมวดหมู่ : ซอฟต์แวร์
 เขียนโดย :  Thaiware
ผู้เข้าชม

2,112
โหวตให้คะแนน
 
 
คะแนนโหวต 4.82 (11 ครั้ง)
แบ่งปันหน้าเว็บนี้ผ่าน URL :  
 
 
ดาวน์โหลดโปรแกรม          สั่งซื้อ
 
 

 รายละเอียด

เพิ่มขนาดตัวอักษร ลดขนาดตัวอักษร
หลังจากในตอนที่แล้ว เราได้ติดตั้งโปรแกรมพื้นฐานสำหรับเขียน แอพพลิเคชั่น Android รวมถึงได้ลองสร้าง โทรศัพท์จำลอง หรือที่เรียกว่า "Emulator" ซึ่งจะเอาไว้รันแอพพลิเคชั่นที่เราได้เขียนไว้นั่นเอง โดยในบทนี้ เราจะมาเริ่มลงมือ เขียน App Android ซึ่งนั่นคือ แอพพลิเคชั่น "Hello World" กันครับ
หมายเหตุ ถ้าใครพลาด บทเรียนที่แล้วสามารถคลิกอ่านได้ที่นี่ รีวิว - [Lesson 1] เริ่มต้นเขียน แอพพลิเคชั่น Android ต้องทำอย่างไรบ้าง ?

Android_Lesson2_01
เริ่มต้นด้วยการเปิดโปรแกรม Eclipse ขึ้นมาก่อนเลย แล้วคลิกไปที่เมนู File > New > Other...
Android_Lesson2_02
เลือก "Android Application Project" และ Next เพื่อไปยังขั้นตอนต่อไป
Android_Lesson2_03
มาถึงในขั้นตอนนี้ เราจะต้องเลือกข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแอพพลิเคชั่น Android ที่เราจะสร้างขึ้น ให้เราเลือกแบบภาพตัวอย่างด้านบนก็ได้ครับ
  • Application Name : ชื่อแอพ ซึ่งจะโชว์บนสมาร์ทโฟน
  • Project Name : ชื่อของ Project แอนดรอยด์
  • Package Name : ชื่อแพ็คเกจของแอพเรา ที่กำลังจะพัฒนา
  • Minimum Required SDK : เวอร์ชั่นต่ำสุดของอุปกรณ์แอนดรอยด์ (API) ที่เราต้องการให้รันได้ เช่น เราต้องการให้แอพเราทำงานบน Android 2.2 (Froyo) ก็เลือก API 8: Android 2.2 (Froyo)
  • Target SDK : เวอร์ชั่นของ API ที่ต้องการพัฒนา
  • Compile With : เวอร์ชั่นของคอมไพเลอร์ เลือกให้เหมือน Target SDK ก็ได้นะ
  • Theme : ธีมของแอพที่แสดงผล ตรงนี้ไม่ส่งผลอะไร เลือกแบบไหน เราก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ภายหลัง
Android_Lesson2_04
ขั้นตอนนี้ ติ๊กถูกตามภาพด้านบน และคลิก Next
Android_Lesson2_05
ในหน้านี้เป็นการตั้งค่ารูปไอคอนของแอพเรา ซึ่งตรงนี้สามารถแก้ไขรูปไอคอนได้ภายหลัง ส่วนที่เห็นด้านขวาเป็น mdpi, hdpi, xhdpi และ xxhdpi คือความละเอียดของไอคอน ซึ่งจะมีผล เวลาลงแอพในอุปกรณ์ที่มีความละเอียดของหน้าจอที่แตกต่างกันไปนั่นเองครับ
Android_Lesson2_06
ให้เราเลือกรูปแบบของ Layout เบื้องต้นที่ต้องการใช้งาน ให้เลือก "New Blank Activity" และคลิก Next
Android_Lesson2_07
ตั้งชื่อ Activity และ Layout ที่ต้องการ เริ่มต้นยังไม่ต้องตั้งก็ได้ครับ เอาตาม Default ไปก่อน แล้วคลิก Finish เป็นการเสร็จสิ้นการตั้งค่าข้อมูลพื้นฐานของการ เขียน App Android
  • Activity Name : ชื่อของคลาส (Class) หลักที่จะพัฒนาแอพ
  • Layout Name : ชื่อ Layout ซึ่งจะเป็นตัวแสดงผลของแอพ

Android_Lesson2_08
มาดูในส่วนของการใช้งานหลัก จะแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านซ้ายเอาไว้ Browse ไฟล์ที่เกี่ยวข้องในโปรเจคเรา คล้ายๆ กับ Windows Explorer นั่นเอง ส่วนด้านขวาเป็น Workspace เอาไว้เขียนโค้ด, แก้ไข Layout และเปิดไฟล์จากด้านซ้ายครับ
Android_Lesson2_09
ให้เราเปิดไฟล์ "activity_main.xml" โดยไปที่ res > Layout > ดับเบิ้ลคลิก "activity_main.xml" ซึ่งโค้ด .XML เป็นส่วนที่จะแสดงผล หรือพูดง่ายๆ มันเป็นรูปร่างหน้าตาหลักของแอพเรานั่นเอง
หมายเหตุ ในบทเรียนนี้ เราจะยังไม่เข้าไปแก้ไขโค้ด MainActivity.java นะครับ
ScreenHunter_198 Jun
คลาส "activity_main.xml" ผมจะอธิบายส่วนที่สำคัญ นอกเหนือจากนี้สามารถหาอ่านได้ที่ Android Reference เลยครับ
  • android:layout_width และ android:layout_height เป็นการกำหนด Attribute ขนาดของวัตถุ ที่นิยมใช้มีดังนี้
    • match_parent >> อ้างอิงขนาดจาก Layout ด้านบน
    • wrap_content >> ขนาดจะเท่าพอดีกับวัตถุ
    • fill_parent >> ขนาดจะเต็มหน้าจอ คล้ายกับเปิด Windows เต็มหน้าต่าง
  • android:text="@string/hello_world" >> แสดงตัวอักษร String ที่ถูกเก็บไปใน String ที่มีชื่อว่า hello_world
Android_Lesson2_10
ทีนี้เราจะลองเปลี่ยนข้อมูลเบื้องต้นของแอพเรา ให้เข้าไปที่ res > values > ดับเบิ้ลคลิก "strings.xml"
Android_Lesson2_11
ลองเปลี่ยนค่าตามภาพด้านบนดูครับ ซึ่งค่า String เหล่านี้จะถูกเรียกไปใช้ในหน้า Layout นั่นเองครับ
  • app_name >> ชื่อแอพของเรา
  • menu_settings >> ชื่อเมนูการตั้งค่า
  • hello_world >> ข้อความที่เราต้องการจะแสดงในหน้า Layout
Android_Lesson2_12
กลับมาที่ส่วนของ Layout จะสังเกตที่มุมซ้ายล่างให้คลิก "Graphical Layout" เราจะเห็นได้ว่าชื่อแอพได้เปลี่ยนเป็น "First App Ja" และข้อความเปลี่ยนจาก "Hello World" เป็น "I Love Thaiware" .. นอกจากนี้ในหน้า Graphical Layout เราสามารถลาก Widgets รูปแบบต่างๆ มาไว้ในหน้า Layout ได้เลย แต่วิธีนี้ผมไม่แนะนำ เพราะจะทำให้โค้ด .XML มั่ว และจัดยาก ทางที่ดีให้เราเขียนโค้ด .XML ขึ้นมาเองดีกว่าครับ
Android_Lesson2_13
ลองรัน Emulator โดยคลิกขวาที่โปรเจค HelloWorld > Run As > Android Application จากนั้นก็จะมีป็อปอัพ Emulator ขึ้นมา รอสักพัก (ขึ้นอยู่กับความเร็วของคอมพิวเตอร์) ก็จะรันเข้าแอพเราโดยอัตโนมัติเลยครับ
Android_Lesson2_14
เมื่อลองเล่น Emulator จะเห็นว่าแอพที่เราเพิ่งคอมไพล์ และรัน ขึ้นมาในหน้า App Drawer แล้วครับ และสามารถลบแอพ หรือเปิดแอพมาเล่นได้ตามใจชอบ เหมือนที่เราทำบนมือถือ Android จริงๆ เลยครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับ [Lesson 2] สร้าง Project เขียน App Android และรันแอพผ่าน Emulator ถ้ามีส่วนไหนที่ไม่เข้าใจ หรือสงสัยสามารถคอมเม้นท์ถามได้ด้านล่างเลยครับ และในบทต่อไปเตรียมตัวพบกับการ เขียน App Android ลงทะเบียนเบื้องต้น ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ของ Layout กับโค้ดในโปรแกรมได้มากยิ่งขั้น