วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เจ้าของ Fackbook

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
Mark Zuckerberg (อังกฤษ)
Mark Zuckerberg at the 37th G8 Summit in Deauville 018 v1.jpg
ซักเคอร์เบิร์กที่งาน 37th G8 summit ในปี ค.ศ. 2011
เกิดมาร์ค เอลเลียต ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Elliot Zuckerberg)
14 พฤษภาคม ค.ศ. 1984 (29 ปี)[1]
ไวต์เพลนส์รัฐนิวยอร์กสหรัฐอเมริกา
ถิ่นพำนักแพโลอัลโตรัฐแคลิฟอเนีย,สหรัฐอเมริกา[2]
ประเทศที่เป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกา
ชาติพันธุ์ชาวยิว
โรงเรียนมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (ลาออก)
อาชีพประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของเฟซบุ๊ก
(ถือหุ้น 24% ในปี 2010)[3]
รู้จักในสถานะร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กในปี ค.ศ.2004; กลายเป็นมหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในโลกเป็นของปี ค.ศ.2008[4]
มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2012)[5]
ศาสนาอศาสนา[6]
คู่สมรสพริสซิลลา ชาน
(2012 - ปัจจุบัน)
ญาติแรนดี, ดอนนาและแอเรียล (พี่สาว)
รางวัลบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ ค.ศ.2010
เว็บไซต์
facebook.com/zuck
มาร์ก เอลเลียต ซักเคอร์เบิร์ก (อังกฤษMark Elliot Zuckerberg) เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1984 ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกันเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก เขาร่วมก่อตั้งเฟสบุ๊กร่วมกับเพื่อนอีก 4 คน ขณะกำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด นิตยสารไทม์ ได้ให้เขาเป็นบุคคลแห่งปีค.ศ. 2010 [7]

เนื้อหา

  [ซ่อน

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กเกิดที่ ไวต์เพลนส์ รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาเติบโตที่เมืองด็อบส์ เฟอร์รี รัฐนิวยอร์ก โดยบิดาเป็นทันตแพทย์ คือ เอ็ดเวิร์ด ซักเคอร์เบิร์ก และมารดาจิตแพทย์ คือ คาเรน ซักเคอร์เบิร์ก เขามีพี่น้องสี่คน ในวัยเด็กซักเคอร์เบิร์กถูกเลี้ยงดูอย่างชาวยิว ถึงแม้เขาอธิบายว่าเขาเป็นอเทวนิยม[8]
ที่โรงเรียนอาร์ดสลีย์ไฮสคูล เขาได้มีความสามารถด้านการศึกษาคลาสสิก ก่อนที่เขาจะย้ายไปเรียนระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนฟิลิปส์เอกเซกเตอร์อคาเดมี ที่นี่ซักเคอร์เบิร์กได้รับรางวัลทางวิทยาศาสตร์ (คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และฟิสิกส์) และศึกษาด้านศิลปะคลาสสิก เขายังเรียนภาษาต่างประเทศ โดยเขาสามารถอ่าน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาฮิบรู ภาษาละติน และภาษากรีกโบราณ เขายังเป็นกัปตันทีมฟันดาบ[9][10][11]
ในงานสังสรรค์ในช่วงชั้นปีที่ 2 ซักเคอร์เบิร์กพบกับพริสซิลลา ชาน ที่ต่อมาเป็นเพื่อนหญิงของเขา[2] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010 ชานซึ่งศึกษาแพทย์ ได้ย้ายมาอยู่บ้านเช่าของซักเคอร์เบิร์กในแพโลอัลโต[2]
ซักเคอร์เบิร์กสามารถมองเห็นสีฟ้าได้ดีที่สุด เพราะเขาเป็นโรคตาบอดสีซึ่งมองสีแดงและสีเขียวได้ไม่ชัดเจน นอกจากนี้สีฟ้ายังเป็นสีหลักในเว็บไซต์เฟซบุ๊กอีกด้วย[12]

พัฒนาซอฟต์แวร์[แก้]

ช่วงแรก[แก้]

ซักเคอร์เบิร์ก ได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการเขียนซอฟต์แวร์ ตั้งแต่ยังเป็นเด็กในชั้นประถมปลาย พ่อเขาสอนให้ใช้โปรแกรมพื้นฐานของอาตาริในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 และต่อมายังจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ชื่อ เดวิด นิวแมน มาสอนเป็นการส่วนตัว นิวแมนเรียกเขาว่า "เด็กอัจฉริยะ" และกล่าวต่อว่า "ยากที่จะล้ำหน้าเกินเขา" ซักเกอร์เบิร์กยังเรียนคอร์สที่วิทยาลัยเมอร์ซี ใกล้กับบ้านของเขาขณะที่เรียนระดับไฮสคูลอยู่[2] เขามีความสนุกกับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องมือด้านการสื่อสารและเกม ตัวอย่างเช่น มีโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งพ่อของเขาที่เป็นทันตแพทย์ เขาสร้างโปรแกรมที่ชื่อ "ซักเน็ต" ที่จะให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารได้ระหว่างบ้านกับสำนักงานทันตแพทย์ โดยใช้ระบบปิงหากัน ถือว่าเป็นเมสเซนเจอร์รุ่นดึกดำบรรพ์ของเอโอแอล ซึ่งออกมาภายหลัง[2]
ในช่วงระหว่างเรียนไฮสคูล ภายใต้การทำงานกับบริษัท อินเทลลิเจนต์มีเดียกรุ๊ป เขาได้สร้างโปรแกรมเล่นดนตรีที่เรียกว่า ไซแนปส์มีเดียเพลเยอร์ (Synapse Media Player) ใช้ปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้พฤติกรรมการฟังเพลงของผู้ใช้ โดยได้โพสต์ลงที่ สแลชด็อต[13] ได้รับคะแนน 3 เต็ม 5 จาก พีซีแม็กกาซีน[14] ไมโครซอฟท์และเอโอแอลพยายามจะซื้อไซแนมป์และรับซักเคอร์เบิร์กเข้าทำงาน แต่เขาเลือกที่จะสมัครเรียนที่ฮาวาร์ดในเดือนกันยายน ค.ศ. 2002

ฮาวาร์ด[แก้]

ในช่วงที่เขาเรียนอยู่ที่ฮาวาร์ด เขามีกิตติศัพท์ด้านความอัจฉริยะในการเขียนโปรแกรมแล้ว เขาศึกษาด้าน วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และจิตวิทยา และเป็นสมาชิก อัลฟาเอปซิลอนไพ สมาคมยิวในมหาวิทยาลัย[2][15] พอเรียนชั้นปีที่ 2 เขาสร้างโปรแกรมจากห้องพักของเขาที่ชื่อ "คอร์สแมตช์" ที่ให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจเรื่องการเลือกเรียนวิชา จากการตัดสินใจของนักเรียนคนอื่น และยังช่วยให้พวกเขาร่วมก่อกลุ่มการเรียน ต่อจากนั้นไม่นาน เขาสร้างโปรแกรมที่แตกต่างกันไปเรียนว่า "เฟซแมช" ที่ให้ผู้ใช้เลือกหน้าผู้ใช้ที่หน้าตาดีที่สุดในบรรดารูปที่ให้มา เพื่อนร่วมห้องของเขาเวลานั้นที่ชื่อ อารี ฮาซิต กล่าวว่า "เขาสร้างเว็บไซต์นี้เพื่อความสนุก"
"เรามีหนังสือ ที่เรียกว่า เฟซบุ๊กส์ ที่รวบรวมรายชื่อและภาพของทุกคนที่อยู่ในหอพัก ในตอนแรกเขาสร้างเว็บไซต์ที่ วางรูป 2 รูป หรือรูปของผู้ชาย 2 คน และผู้หญิง 2 คน ผู้เยี่ยมเยือนเว็บไซต์จะเลือกว่า ใครร้อนแรงกว่ากัน และรวบรวมจัดอันดับเป็นผลโหวต"[16]
เว็บไซต์เปิดในช่วงวันหยุด แต่พอถึงเช้าวันจันทร์ เว็บไซต์ก็ถูกปิดโดยมหาวิทยาลัย เว็บไซต์ได้รับความนิยมในช่วงเวลาอันสั้น จนทำให้เซิร์ฟเวอร์ของฮาวาร์ดล่ม นักศึกษาจะถูกห้ามใช้เข้าเว็บไซต์ นอกจากนั้นมีนักศึกษาหลายคนร้องเรียนเรื่องภาพที่ใช้ไม่ได้รับอนุญาต เขาออกขอโทษต่อสาธารณะ หนังสือพิมพ์นักเรียนจะพาดหัวเกี่ยวกับเว็บไซต์ของเขาว่า "ไม่เหมาะสม"
อย่างไรก็ตาม นักเรียนก็ได้เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยพัฒนาเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูล รายชื่อ รวมถึงรูป ในส่วนหนึ่งของเครือข่ายมหาวิทยาลัย ฮาซิตเพื่อนร่วมห้องเขากล่าวว่า "มาร์กได้ยินคำร้องเหล่านี้และตัดสินใจว่า ถ้ามหาวิทยาลัยจะไม่ทำอะไรเลยก็ตาม เขาก็จะสร้างเว็บไซต์ที่ดีกว่าที่มหาวิทยาลัยจะทำ"[16]

เฟซบุ๊ก[แก้]

ก่อตั้งและเป้าหมาย[แก้]

ซักเคอร์เบิร์กในงานเวิลด์เอโคโนมิกฟอรัม ที่สวิตเซอร์แลนด์ เดือนมกราคม 2009)
ซักเคอร์เบิร์กได้เปิดตัวเฟซบุ๊ก จากในห้องพักของเขาในมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 [17][18] แรงบันดาลใจแรก ๆ ของเฟซบุ๊กอาจมาจากที่โรงเรียนฟิลิปส์เอกเซกเตอร์อคาเดมี ที่เขาเรียนจบปี ค.ศ. 2002 โดยที่เผยในเว็บไซต์ของเขาคือ สารบัญรูปนักศึกษาของเขา ที่นักศึกษาหมายถึง "เดอะเฟซบุ๊ก" มีสารบัญภาพ ที่มีภาพนักศึกษาทำกิจกรรมในหลาย ๆ โรงเรียน โดยนักศึกษาสามารถเข้ามาให้ข้อมูล อย่างเช่น ชั้นปีที่ศึกษา เพื่อนใกล้ชิด หมายเลขโทรศัพท์[17]
โดยในขณะนั้น เฟซบุ๊ก เริ่มต้นเพียงแค่ "Harvard thing" จนกระทั่งซักเคอร์เบิร์กตัดสินใจที่จะกระจายไปสู่มหาวิทยาลัยอื่นๆได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมห้อง ดัสติน มอสโควิตซ์ โดยเริ่มจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยดาร์ตมัธ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก มหาวิทยาลัยคอร์เนล มหาวิทยาลัยบราวน์และมหาวิทยาลัยเยล จากนั้นก็เข้าสู่โรงเรียนอื่น ที่มีความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด[19][20][21]
ซักเคอร์เบิร์กได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองแพโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย กับมอสโควิตซ์และเพื่อนบางส่วน พวกเขาดัดแปลงบ้านเช่าเป็นสำนักงาน ในฤดูร้อนนั้น ซักเคอร์เบิร์กได้พบกับปีเตอร์ ทีล ที่ได้ให้ทุนกับบริษัท พวกเขาเริ่มก่อตั้งบริษัทแรกในกลางปี 2004 พวกเขาได้ปฏิเสธการเสนอขายเฟซบุ๊กกับบริษัทใหญ่ ๆ โดยในบทสัมภาษณ์ในปี 2007 ซักเคอร์เบิร์กอธิบายไว้ว่า
เขาพูดในนิตยสารไวร์ ในปี 2010 ว่า "สิ่งที่ผมใส่ใจมากเกี่ยวกับภารกิจนี้ ก็คือทำให้โลกเปิดกว้างขึ้น" ก่อนหน้านั้นในเดือนเมษายน 2009 ซักเคอร์เบิร์กได้สอบถามคำแนะนำจากผู้บริหารระดับสูงด้านการเงินของเน็ตสเคป ปีเตอร์ เคอร์รี เกี่ยวกับยุทธวิธีสำหรับเฟซบุ๊ก[22]
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 ซักเคอร์เบิร์กรายงานว่า บริษัทมีผู้ใช้ 500 ล้านบัญชีรายชื่อ[23] และเมื่อถามว่า เฟซบุ๊ก จะสามารถทำเงิน หรือสร้างปรากฏการณ์เพิ่มขึ้น เขาอธิบายว่า:
ผมคิดว่า เราสามารถ... ถ้าคุณดูว่าโฆษณาที่มีในแต่ละหน้ากินไปขนาดไหน เมื่อเปรียบเทียบกับการค้นหาข้อมูล ของเรามีน้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อหน้าและยอดการค้นหาปกติจะมีโฆษณาราวร้อยละ 20 ... นี่เป็นสิ่งง่ายที่ทุกคนจะทำ แต่เราไม่ใช่อย่างนั้น เราทำเงินให้พอที่เราจะดำเนินงานได้ เติบโตในอัตราที่เราต้องการ
ในปี 2010 สตีเฟน เลวี ผู้แต่งหนังสือเรื่อง Hackers: Heroes of the Computer Revolution ในปี ค.ศ. 1984 ได้เขียนเกี่ยวกับซักเคอร์เบิร์กไว้ว่า "เห็นชัดว่าเขาคิดว่าตัวเองเป็นแฮ็กเกอร์"[24] ซักเคอร์เบิร์กพูดว่า "มันโอเคที่จะสร้างสิ่งใหม่...ทำให้มันดียิ่งขึ้น"[24][25] เฟซบุ๊กเริ่มให้มี "แฮ็กคาธอน" ในทุก ๆ 6 ถึง 8 อาทิตย์ เปิดโอกาส 1 คืนให้ร่วมคิดและจบโครงการ 1 โครง[24] โดยบริษัทให้จัดหาเพลง อาหารและเบียร์ สำหรับงานแฮกคาธอน และจะมีเจ้าหน้าที่ของเฟซบุ๊ก รวมถึงซักเคอร์เบิร์ก เข้าร่วมด้วย[25] "แนวคิดคือคุณสามารถสร้างบางสิ่งให้ดีได้ใน 1 คืน" ซักเคอร์เบิร์กบอกเลวี "และเป็นบุคลิกของเฟซบุ๊กในปัจจุบัน...ซึ่งก็คือนิสัยส่วนตัวของผมด้วย"[24]
ในปี นิตยสาร วานิตีแฟร์ ได้ให้ซักเคอร์เบิร์กติดอันดับ 1 ในปี 2010 ของรายชื่อ "100 อันดับ บุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในยุคข้อมูล"[26] ในปี 2010 ยังติดอันดับ 16 ของการสำรวจประจำปีของ นิวสเตตส์เม็น ในหัวข้อ "บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก 50 อันดับ"[27]

การพูดถึงในสื่อ[แก้]

เดอะโซเชียลเน็ตเวิร์ก[แก้]

ภาพยนตร์ที่สร้างมาจากชีวิตจริงของซักเคอร์เบิร์ก ในปีเริ่มก่อตั้งเฟซบุ๊กเรื่อง The Social Network ออกฉายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2010 นำแสดงโดยเจสซี ไอเซนเบิร์ก แสดงเป็นซักเคอร์เบิร์ หลังจากที่ชีวิตเขาปรากฏบนจอภาพยนตร์ เขาตอบรับว่า "ผมหวังว่าจะไม่มีใครสร้างหนังเกี่ยวกับผมขณะที่ผมยังมีชีวิตอยู่"[28] และเมื่อบทภาพยนตร์หลุดมาทางอินเทอร์เน็ต และนักแสดงนำไม่ใช่ตัวซักเคอร์เบิร์กในด้านบวก เขาก็ออกมาพูดว่า เขาต้องการให้เสนอตัวเขาในแบบ "คนดี"[29]
ภาพยนตร์ The Social Network ซึ่งอิงมาจากหนังสือเรื่อง The Accidental Billionaires โดยเบน เมซริช ซึ่งมีการประชาสัมพันธ์ไว้ว่า "สนุก น่าสนใจ มาก" มากกว่าการเป็น "รายงาน"[30] ผู้เขียนบทภาพยนตร์ แอรอน ซอร์คิน บอกกับนิตยสารนิวอยร์กว่า "ผมไม่ต้องการความถูกต้องแม่นยำ ผมต้องการเล่าเรื่อง"[31] จากบทในหนังของซอร์คิน ที่บรรยายว่าซักเคอร์เบิร์กสร้างเฟซบุ๊กขึ้นมาเพราะต้องการยกระดับชื่อเสียงของตนเพราะไม่สามารถเข้าไฟนอลคลับของฮาร์วาร์ด อย่างไรก็ตามซักเคอร์เบิร์กเล่าให้กับ The New Yorker ว่าเขาไม่เคยมีความสนใจที่จะเข้าไฟนอลคลับ[2]

สื่ออื่น[แก้]

ซักเคอร์เบิร์กในพากย์เสียงเป็นตัวเขาเองในตอนของ The Simpsons ชื่อตอน "Loan-a Lisa" ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2010 เป็นตอนเกี่ยวกับลิซา ซิมป์สันและเพื่อของเธอที่ชื่อเนลสันได้พบกับซักเคอร์เบิร์กที่งานชุมนุมนักธุรกิจ ซักเคอร์เบิร์กบอกกับลิซาว่า เขาไม่ต้องการเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเพื่อประสบความสำเร็จแบบรีบเร่ง อย่าง บิล เกตส์ และริชาร์ด แบรนสัน เป็นต้น[32]
ในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2010 รายการ Saturday Night Live ได้ล้อเลียนซักเคอร์เบิร์กและเฟซบุ๊ก[33] โดยแอนดี แซมเบิร์กแสดงเป็นซักเคอร์เบิร์ก ซึ่งซักเคอร์เบิร์กเขียนลงในเฟซบุ๊กของตัวเขาเองเกี่ยวกับตอนนี้ว่า "ผมเป็นแฟนตัวจริงของแอนดี แซมเบิร์ก และผมคิดว่ามันสนุก"[34]
ในการเดินทางมายังประเทศไทยเป็นการส่วนตัว เพื่อร่วมงานมงคลสมรสระหว่างนายคริสโตเฟอร์ คอกซ์ รองประธานกรรมการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของเฟซบุ๊ก กับ นางสาววิศรา วิจิตรวาทการ ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระชาวไทย และบุตรสาวของผู้บริหารล็อกซ์เลย์ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553 [35][36] ได้รับความสนใจจากผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และสื่อมวลชนไทยอย่างมาก[37] แต่ถึงกระนั้นก็ไม่มีสื่อมวลชนรายใดได้รับการสัมภาษณ์ มีเพียงได้แค่ภาพและวิดีโอที่ปรากฏเท่านั้น

อ้างอิง[แก้]

  1.  Pilkington, Ed (March 10, 2011). "Forbes rich list: Facebook six stake their claims"The Guardian (UK). สืบค้นเมื่อ March 30, 2011.
  2. ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Vargas, Jose Antonio (September 20, 2010). "The Face of Facebook". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ 2010-09-22.
  3.  David Kirkpatrick. The Facebook Effect. p. 322.
  4.  Kroll, Luisa, ed. (March 5, 2008). In Pictures: Youngest Billionaires: Mark Zuckerberg, U.S.: Age 23: $1.5 billion, self-madeForbes.
  5.  Mark Zuckerberg Forbes.com. Retrieved September 2012.
  6.  "Mark Zuckerberg". Nndb.com. สืบค้นเมื่อ May 11, 2011.
  7.  "TIME Names Mark Zuckerberg Person of the Year".
  8.  Boggan, Steve (2010-05-21). "The Billionaire Facebook Founder making a fortune from your secrets (though you probably don't know he's doing it)". Mail Online. สืบค้นเมื่อ 2010-08-30.
  9.  McDevitt, Caitlin (2010-03-05). "What We Learned About Mark Zuckerberg This Week".The Big Money. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
  10.  Grynbaum, Michael M. "Mark E. Zuckerberg '06: The whiz behind thefacebook.com"The Harvard Crimson. June 10, 2004. Retrieved on August 29, 2010
  11.  Kirkpatrick, David (2010). The Facebook Effect: The Inside Story of the Company That Is Connecting the WorldNew York, New YorkSimon & Schuster. pp. 20–21. ISBN 978-1-4391-0211-4. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  12.  Sutter, John D. "Why Facebook is blue -- six facts about Mark Zuckerberg." CNN. September 20, 2010. Retrieved on October 26, 2010.
  13.  Hemos/Dan Moore (April 21, 2003). "Machine Learning and MP3s"Slashdot. สืบค้นเมื่อ September 3, 2010.
  14.  Troy Dreier (February 8, 2005). "Synapse Media Player Review"PCMag.com. สืบค้นเมื่อ September 3, 2010.
  15.  http://www.facebook.com/press/info.php?execbios
  16. ↑ 16.0 16.1 "Facebook founder's roommate recounts creation of Internet giant"Haaretz,Oct. 5, 2009
  17. ↑ 17.0 17.1 "Did Mark Zuckerberg's Inspiration for Facebook Come Before Harvard?".ReadWriteWeb. May 10, 2009. สืบค้นเมื่อ October 9, 2010.
  18.  "Face-to-Face with Mark Zuckerberg '02" Phillips Exeter Academy website, January 24, 2007
  19.  Chris Holt (March 10, 2004). "Thefacebook.com's darker side"The Stanford Daily.
  20.  "Online network created by Harvard students flourishes"Tufts Daily. สืบค้นเมื่อ 2009-08-21.
  21.  "Thefacebook.com opens to Duke students — News"Duke Chronicle. สืบค้นเมื่อ 2009-08-21.[ลิงก์เสีย]
  22.  "Yu, Zuckerberg and the Facebook fallout". Reuters. April 1, 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-10-15. "In a back-to-the-future move, former Netscape CFO Peter Currie will be the key adviser to Facebook about financial matters, until a new search for a CFO is found, sources said."
  23.  http://blog.facebook.com/blog.php?post=409753352130
  24. ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 Levy, Steven (April 19, 2010). "Geek Power: Steven Levy Revisits Tech Titans, Hackers, Idealists". Wired. สืบค้นเมื่อ 2010-09-23.
  25. ↑ 25.0 25.1 McGirt, Ellen (February 17, 2010). "The World's Most Innovative Companies 2010". Fast Company. สืบค้นเมื่อ 2010-09-24.
  26.  "The Vanity Fair 100". Vanity Fair. October 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-09-23.
  27.  "Mark Zuckerberg - 50 People who matter 2010". New Statesman. สืบค้นเมื่อ 27 September 2010.
  28.  Fried, Ina (June 2, 2010). "Zuckerberg in the hot seat at D8". CNET. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  29.  Harlow, John (2010-05-16). "Movie depicts seamy life of Facebook boss"The Times Online (London). สืบค้นเมื่อ 2010-07-18.
  30.  Cieply, Michael and Helft, Miguel (August 20, 2010). "Facebook Feels Unfriendly Toward Film It Inspired". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-09-22.
  31.  Harris, Mark (September 17, 2010). "Inventing Facebook". New York. สืบค้นเมื่อ 2010-09-22.
  32.  "Facebook Creator Mark Zuckerberg to Get Yellow on The Simpsons". New York. July 21, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-09-22.
  33.  Brandon Griggs (October 11, 2010). "Facebook, Zuckerberg spoofed on 'SNL'"CNN. สืบค้นเมื่อ October 11, 2010.
  34.  Mark Zuckerberg liked Andy Samberg's 'SNL' spoof
  35.  'ซัคเกอร์เบิร์ก'ร่วมพิธีแต่งงานในไทย คม ชัด ลึก
  36.  Facebook founder 'spotted in Bangkok pub' The Nation
  37.  Mark Zuckerberg ร่วมงานแต่งงานลูกน้องในเมืองไทย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


รายการเอกสาร
การสัมภาษณ์
สมัยก่อนหน้ามาร์ก ซักเคอร์เบิร์กสมัยถัดไป
เบ็น เบอร์นานคี2leftarrow.pngบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(พ.ศ. 2553)
2rightarrow.pngผู้ประท้วง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น